เมนู

อรรถกถามูลมูลกาทิทสกกถา


พึงทราบวินิจฉัยในมูลมูลกทสกะมีอาทิว่า มูลฏฺเฐน ดังต่อไปนี้. บทว่า
มูลฏฺเฐน เพราะอรรถว่าเป็นมูล คือ ในวิปัสสนาเป็นต้น เพราะอรรถว่า
โพชฌงค์ก่อน ๆ เป็นมูลของโพชฌงค์หลัง ๆ ของสหชาตธรรม และของกัน
และกัน. บทว่า มูลจริยฏฺเฐน เพราะอรรถว่า ประพฤติตามอรรถที่เป็นมูล
คือ ประพฤติเป็นไปเป็นมูล ชื่อว่า มูลจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติเป็น
มูลนั้น อธิบายว่า เพราะอรรถว่าเป็นมูลแล้วจึงเป็นไป. บทว่า มูลปริคฺ-
คหฏฺเฐน
เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล คือ โพชฌงค์เหล่านั้นชื่อว่า
กำหนด เพราะกำหนดเพื่อต้องการให้เกิดตั้งแต่ต้น การกำหนดมูลนั่นแหละ
ชื่อว่า มูลปริคฺคหา เพราะอรรถว่า กำหนดธรรมที่เป็นมูลนั้น เพราะอรรถว่า
มีธรรมเป็นบริวาร ด้วยเป็นบริวารของกันและกัน เพราะอรรถว่ามีธรรม
บริบูรณ์ด้วยการบำเพ็ญภาวนา เพราะอรรถว่ามีธรรมแก่กล้า ด้วยให้บรรลุ
ความสำเร็จ. ชื่อว่า มูลปฏิสมฺภิทา แตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะมูล
6 อย่างเหล่านั้น และชื่อว่าปฏิสัมภิทา เพราะแตกฉานในประเภท เพราะ
อรรถว่าแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล. บทว่า มูลปฏิสมฺภิทาปาปนฏฺเฐน
เพราะอรรถว่า ให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล คือ เพราะอรรถว่า
ให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ของพระโยคาวจรผู้ขวนขวายในการ
เจริญโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า เจริญความชำนาญ ด้วยความแตกฉานใน
ธรรมอันเป็นมูลนั้น ของพระโยคาวจรนั้นนั่นเอง. ในโวหารของบุคคลเช่นนี้
แม้ที่เหลือ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า โพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งผู้ตรัสรู้.
พึงทราบว่า โพชฌงค์เป็นผลในการไม่กล่าวถึงความสำเร็จแม้เช่นนี้ ในบทว่า
มูลปฏิสมฺภิทาย วสีภาวปตฺตานมฺปิ แม้ของผู้ถึงความชำนาญในความ
แตกฉานธรรมอันเป็นมูล. ปาฐะว่า วสีภาวํ ปตฺตานํ ของผู้ถึงความชำนาญ
บ้าง.
จบมูลมูลกทสกะ

ในทสกะ 9 มีเหตุมูลกะเป็นต้น แม้ที่เหลือพึงทราบอรรถแห่งคำทั่วไป
โดยนัยนี้แล. โพชฌงค์ตามที่กล่าวแล้วในคำไม่ทั่วไป ชื่อว่าเหตุ เพราะให้
เกิดธรรมตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า ปัจจัย เพราะช่วยค้ำจุน ชื่อว่า วิสุทธิ
เพราะเป็นความหมดจดแห่งตทังคะ สมุจเฉทะและปฏิปัสสัทธิ ชื่อว่าไม่มีโทษ
เพราะปราศจากโทษ ชื่อว่า เนกขัมมะ เพราะบาลีว่า สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา
เนกฺขมฺมํ
กุศลธรรมแม้ทั้งหมดเป็นเนกขัมมะ ชื่อว่า วิมุตติ ด้วยสามารถ
แห่งตทังควิมุตติเป็นต้น เพราะพ้นจากกิเลสทั้งหลาย. โพชฌงค์อันเป็นมรรค
และผล ชื่อว่า อนาสวะ เพราะปราศจากอาสวะอันเป็นขอบเขต. โพชฌงค์
แม้ 3 อย่างชื่อว่า วิเวก ด้วยสามารถแห่งตทังควิเวกเป็นต้น เพราะว่างเปล่า
จากกิเลสทั้งหลาย. โพชฌงค์อันเป็นวิปัสสนาและมรรค ชื่อว่า โวสฺสคฺคา
เพราะปล่อยวางการสละและเพราะปล่อยวางการแล่นไป. โพชฌงค์อันเป็นผล
ชื่อว่า โวสฺสคฺคา เพราะปล่อยวางการแล่นไป. ทสกะ 9 ท่านชี้แจงด้วยบท
หนึ่ง ๆ มีอาทิว่า มูลฏฺฐํ พุชฺฌนฺติ ตรัสรู้สภาพอันเป็นมูล พึงทราบโดยนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. ส่วนบทว่า วสีภาวปฺปตฺตานํ ท่านไม่บอกเพราะ
ไม่มีคำเป็นปัจจุบันกาล. การกำหนดเป็นต้นมีอรรถดังกล่าวแล้วในอภิญเญยย-
นิเทศ.
พระเถระครั้นยกสูตรที่ตนแสดงขึ้นแล้วประสงค์จะแสดงโพชฌงค์วิธี
ด้วยการชี้แจงสูตรนั้น จึงกล่าวนิทานมีอาทิว่า เอกํ สมยํ แล้วยกสูตรขึ้น
แสดง. อนึ่ง ในสูตรนี้ เพราะเป็นสูตรที่ตนแสดงเอง ท่านจึงไม่กล่าวว่า
เอวํ เม สุตํ. อนึ่งในบทว่า อายสฺมา สารูปุตฺโต นี้ ท่านกล่าวทำตน
ดุจคนอื่นเพื่อความฉลาดของผู้แสดง. เพราะอาจารย์ทั้งหลายประกอบคำเช่นนี้
ไว้มากในคันถะทั้งหลายในโลก. บทว่า ปุพฺพณฺหสมยํ คือ ตลอดเวลาเช้าทั้งสิ้น.

บทนี้เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคะ แม้ในสองบทที่เหลือ
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม อาวุโส โหติ
ดูก่อนอาวุโส หากว่าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้ คือ หากสติสัมโพชฌงค์
ของเรามีอยู่อย่างนี้. บทว่า อปฺปมาโณติ เม โหติ สติสัมโพชฌงค์ของเรา
ก็หาประมาณมิได้ คือ สติสัมโพชฌงค์ของเราหาประมาณมิได้ มีอยู่อย่างนี้.
บทว่า สุสมารทฺโธ เม โหติ ปรารภแล้วด้วยดี คือ สติสัมโพชฌงค์ของเรา
บริบูรณ์ด้วยดีอย่างนี้. บทว่า ติฏฺฐนฺตํ ตั้งอยู่ คือ ตั้งอยู่ด้วยเป็นไปใน
นิพพานารมณ์. บทว่า จวติ เคลื่อนไป คือ หลีกไปจากนิพพานารมณ์
แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือก็มีนัยนี้. บทว่า ราชมหามตฺตสฺส คือแห่งมหาอำมาตย์
ของพระราชา หรือผู้ประกอบด้วยประมาณโภคสมบัติ เพราะมีโภคสมบัติมาก.
บทว่า นานารตฺตานํ เต็มด้วยผ้าสีต่าง ๆ คือ ผ้าย้อมด้วยสีต่าง ๆ. บทนี้เป็น
ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถบริบูรณ์ อธิบายว่า ด้วยสีต่าง ๆ. บทว่า ทุสฺสกรณฺ-
ฑโก
คือเปรียบเหมือนตู้เก็บผ้า. บทว่า ทุสฺสยุคํ ผ้าคู่ คือ คู่ผ้า. บทว่า
ปารุปิตุํ คือเพื่อปกปิด. ในสูตรนี้ท่านกล่าวถึงโพชฌงค์อันเป็นผลของพระเถระ
จริงอยู่ ในกาลใด พระเถระกระทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นหัวข้อ แล้วเข้าถึง
ผลสมาบัติ ในกาลนั้น โพชฌงค์นอกนี้ก็ตามสติสัมโพชฌงค์นั้นไป ในกาลใด
เข้าถึงธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ในกาลนั้น โพชฌงค์
แม้ที่เหลือก็ตามธรรมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นไป เพราะเหตุนั้น พระเถระเมื่อจะ
แสดงความที่ตนมีความชำนาญในความประพฤติผลสมาบัติอย่างนั้น จึงกล่าว
สูตรนี้.

อรรถกถาสุตตันตนิเทศ


ในบทว่า กถํ สติ สมฺโพชฺฌงฺโค อิติ เจ เม โหติ ถ้าสติ
สัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้นมีอยู่อย่างไร บทว่า โพชฺฌงฺโค ความว่า เมื่อ
พระโยคาวจรเข้าผลสมบัติ ทำสติสัมโพชฌงค์ให้เป็นประธาน เมื่อโพชฌงค์อื่น
มีอยู่ สติสัมโพชฌงค์นี้ย่อมมีอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น หากว่า เมื่อสติสัมโพช-
ฌงค์เป็นไปแล้วอย่างนี้ สติสัมโพชฌงค์นั้นมีอยู่อย่างไร.
บทว่า ยาวตา นิโรธุปฏฺฐาติ นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด คือ นิ-
โรธย่อมปรากฏโดยกาลใด อธิบาย นิพพานย่อมปรากฏโดยอารมณ์ในกาลใด.
บทว่า ยาวตา อจฺฉิ เปลวไฟมีเพียงใด คือ เปลวไฟมีโดยประมาณเพียงใด.
บทว่า กถํ อปฺปมาโณ อิติ เจ โหตีติ โพชฺฌงฺโค โพชฌงค์ในข้อว่า
สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้นมีอยู่อย่างไร ความว่า เมื่อ
สติสัมโพชฌงค์แม้หาประมาณมิได้มีอยู่ สติสัมโพชฌงค์นี้ก็ย่อมหาประมาณมิได้
ด้วยอาการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น หากว่าสติสัมโพชฌงค์หาประมาณมิได้นั้น
มีอยู่แก่พระโยคาวจรผู้เป็นไปแล้วอย่างไร. บทว่า ปมาณวนฺตา มีประมาณ
คือ กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฺฐานกิเลส และสังขารอันทำให้เกิดภพใหม่ ชื่อว่า
มีประมาณ. ราคะเป็นต้น เพราะคำว่า ราคะ โทสะ โมหะ กระทำประมาณ
ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใด การทำประมาณแก่ผู้นั้นว่า นี้ประมาณเท่านี้ ชื่อว่า ประมาณ.
กิเลสเป็นต้น เป็นเครื่องผูกติดอาศัยในประมาณนั้น ชื่อว่า มีประมาณ. บทว่า
กิเลสา คือ เป็นอนุสัย. บทว่า ปริยุฏฺฐานา คือ กิเลสที่ถึงความฟุ้งซ่าน. บทว่า
สงฺขารา โปโนพฺภวิกา สังขารอันให้เกิดภพใหม่ คือ การเกิดบ่อย ๆ ชื่อว่า